สถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ให้บริการ

เกาะปันหยี

เกาะปันหยี เป็นเกาะเล็ก ๆ มีที่ราบประมาณ 1 ไร่ มีบ้านเรือน 200 หลังคาเรือน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีอาชีพประมงเป็นหลัก

เป็นภูเขาหินปูนที่มีลักษณะสูงใหญ่และแผ่กว้าง สามารถบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี มีสันดอนดินทรายที่ทับถมจนเป็นพื้นราบ เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเล็ก ๆ 4 แห่ง สร้างสีสันท่ามกลางธรรมชาติที่แวดล้อมด้วยเกาะน้อยใหญ่ในทะเลและป่าชายเลนของอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา บรรพบุรุษของชาวเกาะปันหยี เป็นชาวชวาจำนวน 3 ครอบครัว อพยพจากอินโดนีเซียโดยเรือใบ 3 ลำ เมื่อปลายศตวรรษที่ 18 และตกลงกันว่าหากพบพื้นที่เหมาะสมแล้ว ให้ปักธงเป็นสัญลักษณ์ไว้ คำว่า “ปันหยี” (Pulau Panji) แปลว่า “ธง” เมื่อมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะแห่งนี้แล้ว ก็ได้ดำเนินวิถีชีวิตอยู่ภายใต้บริบทวัฒนธรรมอิสลามมานานกว่า 300 ปี หมู่บ้านเกาะปันหยี หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะปันหยี ประกอบด้วยประชากรประมาณ 1,400 คน บ้านเรือนส่วนใหญ่เกือบ 350 หลังคาเรือน เป็นบ้านชั้นเดียวปลูกยกพื้นสูงเรียงรายอยู่ในทะเลอ่าวพังงาทางด้านหน้าของหน้าผาหินปูน ส่วนที่เป็นพื้นดินเชิงเขาประมาณ 1 ไร่ ชาวเกาะปันหยีใช้เป็นพื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้าน เป็นพื้นที่สุสานและที่ตั้งมัสยิดดารุสสลาม ที่ก่อสร้างเป็นอาคารสูงสองชั้น ยอดโดมมีสีทองโดดเด่นสวยสง่า ภายในอาคารตกแต่งด้วยหินอ่อน ธรรมชาติท้องทะเลได้เอื้ออำนวยต่อการทำประมงน้ำตื้น เลี้ยงหอยแครง เลี้ยงปลาในกระชัง เป็นรายได้หลักของชาวบ้าน แต่เมื่อนักท่องเที่ยวมาเยือนมากขึ้น ทำให้ชาวบ้านหันมาทำอาชีพเสริมรองรับ ทั้งร้านอาหาร รับจ้างขับเรือและขายสินค้าที่ระลึก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารทะเลตากแห้งและแปรรูป อีกทั้งเกาะปันหยี ยังเป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับที่ทำจากหอยมุกที่มีชื่อเสียงมาก จึงสร้างรายได้ให้กับชุมชนเป็นอย่างดีในช่วงปลอดมรสุม ระหว่างเดือนธันวาคม-เมษายน ใกล้ ๆ กันเป็นที่ตั้งของภูเขาเขียน ซึ่งมีภาพเขียนสีแดงรูปคนและสัตว์น้ำต่าง ๆ ตั้งอยู่ก่อนถึงตัวเกาะปันหยีประมาณ 400 เมตร ส่วนถ้ำทะลุที่อยู่ไม่ห่างกัน เป็นเกาะกลางน้ำที่ตรงกลางมีช่องลอดผ่านได้ เป็นจุดพายแคนูท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งในอุทยานฯ การเดินทาง : สามารถซื้อแพคเก็จทัวร์แบบไปและกลับในวันเดียวได้จากบริษัทนำเที่ยวในภูเก็ต หรือท่าเรือในจังหวัดพังงา เช่น ท่าเรือท่าด่าน อำเภอเมืองพังงา ท่าเรือสุระกุล และท่าเรือบ้านหินร่ม อำเภอตะกั่วทุ่ง เป็นต้น

ที่มา : https://thai.tourismthailand.org/Attraction/เกาะปันหยี

อ่านต่อ

ทะเลแหวกหนวดมังกร

ทะเลแหวกหนวดมังกร อยู่ในเขต อ.คุระบุรี จ.พังงา เป็นแหล่งท่องเที่ยว UNSEEN แหล่งใหม่ ที่เกิดจากความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ เป็นทะเลแหวกที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ด้วยระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่น้ำทะเลลดระดับ ทำให้เห็นแนวสันทรายมีลวดลายเหมือนหนวดมังกร คดเคี้ยวไปมาในท้องทะเล    นอกจากลวดลายหนวดมังกรที่ไล่เรียงไปบนท้องทะเลแล้ว ยังมีเอกลักษณ์สำคัญของสันทรายที่นี่ คือมีความนุ่มเนียนละเอียดเมื่อก้าวเท้าลงไปสัมผัสกับพื้นทรายแห่งนี้

ข้อมูลการเดินทาง ท่าเทียบเรืออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ การเดินทางใช้เวลาเดินทางโดยเรือประมาณ 20 นาทีจากท่าเรือ -ละติจูด : 9.22678200 -ลองจิจูด : 98.37369300   ที่มา : https://www.phangngapao.go.th/travel/detail/116/data.html ขอบคุณรูปภาพจาก : Manager Online
อ่านต่อ

เขาตะปู

เขาตาปู อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีชื่อเรียกว่า “เกาะตะปู” ตามลักษณะของเกาะซึ่งเป็นเขาหินปูนที่ถูกกัดกร่อนฐานมีลักษณะคล้ายกับตะปู แต่ชาวต่างชาติจะรู้จักกันในนาม เกาะเจมส์บอนด์ (James Bond Island) เพราะเป็นที่ถ่ายทำภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ 007 ตอน เพชฌฆาตปืนทอง (The Man with the Golden Gun) เมื่อปี พ.ศ.2517 ภาพเขาตาปูจึงเป็นภาพจำของนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก เขาตะปู เป็นโขดหินขนาดเล็ก ตั้งอยู่ทางด้านเหนือในเวิ้งอ่าวของเกาะเขาพิงกัน ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาในท้องที่ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ไปตามลำคลองเกาะปันหยีเป็นระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร เกาะตาปูมีลักษณะเป็นเกาะเดี่ยว ส่วนบนโปนออกและคอดกิ่วลงที่บริเวณฐานเหมือนกับตาของปู (เกาะในลักษณะนี้มีศัพท์ทางธรณีวิทยาเรียกว่า เกาะหินโด่ง) การชมเกาะตาปูต้องชมในระยะไกลจากเรือ หรือจากสันดอนของเกาะเขาพิงกัน ไม่สามารถขึ้นไปบนเกาะได้   ที่มา : https://www.phangngapao.go.th/travel/detail/128 ขอบคุณรูปภาพจาก : Cbill
อ่านต่อ

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลนในอำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเมือง จ.พังงา รวมกว่า 400 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่มากมายที่มีเอกลักษณ์และความงดงามทางธรรมชาติที่แตกต่างกัน นักท่องเที่ยวสามารถล่องเรือชมความงามของเขาตาปู หรือที่ชาวต่างชาติรู้จักกันในชื่อ เกาะเจมส์บอนด์ ตื่นตาไปกับของเขาพิงกัน หรือจะนั่งเรือลอดถ้ำที่เกาะทะลุ เปลี่ยนบรรยากาศสัมผัสธรรมชาติพายเรือแคนนูที่เกาะห้อง และเยี่ยมชมวิถีชีวิตหมู่บ้านชาวประมงที่เกาะปันหยี ที่สามารถซื้อของฝากของที่ระลึกกลับบ้านได้อีกด้วย
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ทิศเหนือ จดพื้นที่ป่าชายเลนในท้องที่อำเภอเมืองพังงา ทิศใต้ จะทะเลเขตอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา และเขตทะเลจังหวัดภูเก็ต ทิศตะวันออก จดทะเลเขตท้องที่จังหวัดกระบี่ และทิศตะวันตก จดพื้นที่ป่าชายเลน และที่ชายทะเลท้องที่อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ลักษณะเป็นภูเขาหินตะกอน หินแปรสลับอยู่เป็นแนวยาว มีภูเขาหินปูนแทรกโผล่เป็นหย่อมๆ กระจายอยู่ทั่วไป สภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมทำให้เกิดเป็น โพรง ถ้ำ การยุบตัวของแผ่นดินทางทิศตะวันตก ทำให้เกิดเป็นชายฝั่งขรุขระ เว้าๆ แหว่งๆ เกิดเป็นอ่าวและเกาะ ทำให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงาม อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีอุณหภูมิเฉลี่ย 26 - 28 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีประมาณ 3,500 มิลลิเมตร
 
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของบริเวณอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ขึ้นอยู่กับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงฝนตกหนักมากระหว่างฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน – มีนาคม มีลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดประจำ บางครั้งอาจถึงเดือนเมษายน ปกติบริเวณอ่าวพังงา จะมีทัศนวิสัยที่ดีมาก เว้นแต่ในช่วงที่มีฝนตกชุก คลื่นลมในทะเล มีคลื่นปานกลางถึงมีคลื่นหนักระหว่างฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทะเลเงียบถึงมีคลื่นเล็กน้อย เว้นเดือนพฤศจิกายน มีคลื่นเล็กน้อย – ปานกลาง บางครั้งอาจมีคลื่นหนัก – หนักมาก
พืชพรรณและสัตว์ป่า
พันธุ์พืช ในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ปรากฏว่าสังคมพืชแตกต่างไปตามลักษณะภูมิประเทศลักษณะดินและหิน ความแปรผันของการขึ้นลงของน้ำทะเล กระแสน้ำตลอดจนกิจกรรมของมนุษย์ที่เข้าไปรบกวนสภาพธรรมชาติ จำแนกออกได้เป็น 5 ประเภท      
1. ป่าชายเลน
          1.1. ป่าชายเลนบริเวณเขาหินปูน พบว่า มีชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าชายเลนถึง 12 ชนิด ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูนขาว ตะบูนดำ ประสักแดง ถั่วขาว ถั่วดำ โปรง พังกาหัวสุม ลำพู ลำแพน รังกะแท้ แสมขาว นอกจากนี้ยังพบต้นจาก ซึ่งขึ้นอยู่บริเวณริมน้ำ หรือค่อนข้างเป็นดินเลน และเหงือกปลาหมอ ส่วนปรงทะเลพบน้อยมากบริเวณที่ป่าถูกทำลายเท่านั้น
          1.2 ป่าชายเลนบริเวณเขาหินเชลล์ และควอทไซท์ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญอยู่ 7 ชนิด คือ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูนขาว ประสักแดง ถั่วขาว ถั่วดำ โปรง สำหรับพันธุ์ไม้ชั้นล่างที่สำคัญคือ เหงือกปลาหมอขึ้นหนาแน่นบริเวณริมน้ำก็มี สำมะนา และหวายตะมอย
          1.3 ป่าชายเลนบริเวณเขาหินทราย พันธุ์ไม้ที่สำคัญในบริเวณนี้มีมากน้อยกว่า เนื่องจากสภาพดินเป็นทรายมากเกินไป นอกจากนี้ประกอบกับพื้นที่ได้รับอิทธิพลจากลมและกระแสน้ำอีกด้วย พันธุ์ไม้ที่สำคัญที่พบมี 5 ชนิด คือ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบเล็ก ลำแพน แสม ตะบูนขาว และฝาด นอกจากนี้มักพบเสม็ด ในบริเวณที่ติดกับป่าบกซึ่งน้ำมีความเค็มค่อนข้างต่ำ
     2. ป่าบก ที่พบเป็นประเภทไม้ผลัดใบ ซึ่งจัดเป็นป่าดงดิบชื้น แบ่งได้ ดังนี้
          2.1 ป่าบกที่ขึ้นบนพื้นที่เขาหินปูน พบอยู่กระจัดกระจายทั่วไป ตามเขาหินปูนบริเวณอ่าวพังงามี 2 ประเภท
          - ป่าที่ขึ้นอยู่บนบก พื้นที่ค่อนข้างเรียบและบริเวณที่เรียกว่า Karst ซึ่งเป็นบริเวณหุบเขามีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ขี้หนอน เหรียง ตะเคียนหิน มะหาด สีเสียด ทังเขา ไทร จำปาเขา ขี้เหล็ก มะไฟ มะม่วงป่า ไม้นน สมอกานน สองกระดอง มะขามป้อม ชะมวง ชุมแสง ยอป่า มะเดื่อ ปอเซ่ง เปล้า และชุมเห็ด สำหรับไม้ชั้นล่าง ได้แก่ เต่าร้าง เตย ลำเพ็ง ขิง ข่า ไผ่ป่า นอกจากนี้ยังมีพวกหญ้า ปาล์ม และว่านชนิดต่าง ๆ ด้วย
          - ป่าที่ขึ้นอยู่บนพื้นที่ค่อนข้างชื้นของหินปูน ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่มีขนาดเล็กเตี้ย ยกเว้นบริเวณซอกหินเท่านั้น ที่มีธาตุอาหารสูง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียนทอง เขากวาง กาหยี มะกอก เขา ตะแบก
          2.2 ป่าที่ขึ้นอยู่บริเวณพื้นที่เขาหินเชลล์และควอทไซท์ พบว่ามีพันธุ์ไม้ขึ้นค่อนข้างหนาแน่นมีการปกคลุมของเรือนยอด ประมาณ 70 – 90 % จะพบไม้ยางนาขึ้นอยู่กระจัดกระจาย และยังพบพันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ มังตาล พังกา ไม้ทังคาย ส่วนพืชชั้นล่างก็พบพวก ไผ่ป่า หญ้าพังเหร
     3. สังคมพืชน้ำ อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่น้ำ ดังนั้นสังคมพืชน้ำจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของสังคมพืชน้ำ โดยเฉพาะสาหร่าย จะขึ้นอยู่ตามต้นหรือรากของต้นแสม โกงกาง หรือขึ้นอยู่บริเวณชายหาดตามผิวดิน อาจจะเกาะตามหินหรือเปลือกหอย ซึ่งสาหร่ายก็แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ สาหร่ายสีน้ำตาล สีเขียว สีแดง และนอกจากนี้ยังพบพวกหญ้าทะเล แพลงตอน อีกด้วย ซึ่งจะมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลในด้านการเป็นอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัยหรือวางไข่ของสัตว์น้ำนานาชนิด
          - พันธุ์พืชหายาก ในที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงามีกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองพังงา ซึ่งพบได้ยาก โดยจะขึ้นอยู่บริเวณตามหน้าผา ซอกหินสูง บนเขาหินปูน ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100 เมตร ดอกเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกตั้งตรง มีจนสั้นปกคลุมเมื่อดอกบานเต็มที่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 – 8 ซม. มีกระเปาะสีนวลขาว จะออกดอกประมาณเดือน เมษายน - สิงหาคม และพฤศจิกายน - ธันวาคม พันธุ์สัตว์ ในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีสัตว์อยู่หลายชนิด ทั้งสัตว์น้ำ สัตว์บก และสัตว์ปีก แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
     1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีมากถึง 27 ชนิด ได้แก่ ลิงแสม ชะนี ค่างแว่นถิ่นใต้ กระรอกปลายหางดำ เลียงผา กระจ้อน นากใหญ่ขนเรียบ หมูเหม็นหรือสาโท กระแตธรรมดา ลิ่นหางยาว หนูท้องขาว หนูหริ่ง นากหางยาว เป็นต้น
     2. นก พบจำนวน 120 ชนิด ได้แก่ นกยางเขียว เหยี่ยวแดง นกออก นกหัวโตพันธุ์มลายู นกเปล้าคอสีม่วง นกบั้งรอกเล็กท้องเทา นกนางแอ่นกินรัง นกกระเด็นน้อยธรรมดา นกโกงกางหัวโต นกขมิ้นหัวดำเล็ก เป็นต้น
     3. สัตว์เลื้อยคลาน พบทั้งสิ้น 26 ชนิด ได้แก่ เต่าหับ เต่าแดงหรือเต่าใบไม้ เต่าดำหรือเต่าแก้มขาว จิ้งจกหางหยาบ กิ้งก่าบินปีกสีส้ม กิ้งก่าแก้ว แย้ เหี้ย ตะกวดหรือแลน จิ้งเหลนบ้าน จิ้งเหลนต้นไม้ งูทางมะพร้าว งูปล้องหรืองูตามธาร งูสร้อยเหลือง งูปากกว้างน้ำเค็ม งูลายสาบดำขาว งูลายสายคอแดง เป็นต้น
     4. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก พบ 4 ชนิด ได้แก่ กบน้ำเค็ม หรือกบน้ำกร่อย กบหนอง กบนาหรือกบเนื้อ และเขียดตะปาด
     5. ปลา ประกอบด้วยปลาทะเลนานาชนิดตามบริเวณป่าชายเลน ปากน้ำทะเลและพื้นน้ำทะเล เท่าที่สังเกตพบมี ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาไหลทะเล ปลาจาระเม็ด ปลาเก๋า ปลากระบอก ปลากะพง ปลาตีน ปลาดุกทะเล และปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณแห่งปะการังหลายชนิด เช่น ปลาในสกุลปลาผีเสื้อ และปลามีค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ปลาในสกุลปลาทู
     6. สัตว์ประเภทอื่น ๆ ที่มีจำนวนมาก นอกจากสัตว์ป่าและปลาหลายชนิดต่างๆ ที่กล่าวมา ยังมีสัตว์น้ำที่สำคัญและมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และทางด้านนันทนาการ ได้แก่ สัตว์ประเภทกุ้ง หอย และ สัตว์ชั้นต่ำ ประเภทไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกปะการังอีกหลายชนิด เท่าที่พบในบริเวณอ่าวพังงา ได้แก่ ปะการังหนาม ปะการังพุ่มไม้ ปะการังเขากวาง นอกจากนี้ยังพบกุ้งอยู่ประมาณ 14 ชนิดอีกด้วยได้แก่ กุ้งแชบ๊วย กุ้งกุลาลาย กุ้งหางเหลืองสีฟ้า กุ้งตะกวด กุ้งตะเข็บหรือกุ้งลาย กุ้งรู กุ้งตะเข็บมี 2 ชนิด คือ กุ้งเคย และกุ้งกระต่อม เป็นต้น
การเดินทาง
รถยนต์ สามารถใช้ได้สองเส้นทางได้แก่ เส้นทางแรก จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง จากนั้นจึงเข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดพังงา รวมระยะทาง 788 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 12 ชั่วโมง เส้นทางที่สอง จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ไปจนถึงจังหวัดชุมพร และจากจังหวัดชุมพรให้ตรงไปใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 401 จนถึงอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 415 ผ่านอำเภอทับปุดเข้าสู่ตัวเมืองพังงา
รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีขบวนรถไฟออกจากกรุงเทพฯ ไปลงที่สถานีพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วต่อรถโดยสารประจำทางไปจังหวัดพังงาอีกประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 หรือ www.railway.co.th รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางทั้งแบบปรับอากาศและธรรมดา กรุงเทพฯ-พังงา บริการทุกวัน ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 02 894 6122 จองตั๋ว บขส. โทร. 02 422 4444 หรือ www.transport.co.th สถานีพังงา ถนนเพชรเกษม (หลังธนาคารหลวงไทย) โทร. 0 7641 2300, 0 7641 2014
นอกจากนั้นจากจังหวัดพังงา มีรถโดยสารไปยังจังหวัดต่าง ๆ คือ ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พัทลุง หาดใหญ่ สงขลา ปัตตานี นราธิวาส สุไหง-โกลก อ.บ้านตาขุน อ.พุนพิน จ.สุราษฏร์ธานี และจากอำเภอเมืองมีรถประจำทางจากตลาดไปท่าเรือท่าด่านศุลกากร ที่สามารถเช่าเรือไปอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาได้ด้วย
เครื่องบิน การเดินทางไปพังงาทางเครื่องบิน นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการเที่ยวบินไปลงจังหวัดภูเก็ต จากนั้นต่อรถโดยสารประจำทางไปจังหวัดพังงา ระยะทางประมาณ 58 กิโลเมตร หรือเทียวบินไปจังหวัดระนอง จากนั้นต่อรถโดยสารประจำทางไปจังหวัดพังงา โดยใช้เวลาเดินทางต่อประมาณ 3 ชั่วโมง หรือสามารถสอบถามได้ที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา 076481188 หรือทางอีเมลล์ aophangnga_np@hotmail.com
ที่มา : https://www.phangngapao.go.th/travel/detail/126
ขอบคุณรูปภาพจากคุณ Qimono
อ่านต่อ

จุดชมวิวเสม็ดนางชี

จุดชมวิวเสม็ดนางชี อยู่ในอำเภอตะกั่วทุ่ง จ.พังงา  เป็นจุดชมวิวที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดพังงา ตื่นตาตื่นใจกับวิวภูเขาของอ่าวพังงา ในมุมมองอันซีน โดยเฉพาะช่วงพระอาทิตย์ขึ้น ที่ปรากฏท่ามกลางภูเขาหินปูนของอ่าวพังงา  หรือจะเป็นช่วงกลางวัน กับบรรยากาศภูเขาที่เคียงคู่กับป่าชายเลน ก็สวยไม่ต่างกัน ซึ่งที่นี่มีจุดกางเต้นท์และบ้านพักให้ค้างแรม  สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการดูดาวในยามค่ำคืนอีกด้วย สุดยอดวิวพอยท์ ที่เราสามารถชมวิวทิวทัศน์เกาะแก่ง ภูเขาหินปูนในอ่าวพังงา โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเช้าตรู่ ยามพระอาทิตย์เริ่มเปล่งแสง เป็นอะไรที่ตื่นตาตื่นใจมากๆ การเดินทาง สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางมายังเสม็ดนางชี สามารถใช้เส้นทางพังงา-โคกลอย หรือโคกลอย-พังงา หลังจากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางบ้านท่าอยู่-คลองเคียน ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร จะพบกับทางขึ้นจุดชมวิว และหลังจากจากรถเรียบร้อย ก็ขึ้นไปยังจุดชมวิวอีกประมาณ 500-700 เมตร จะมีรถสองแถวของสถานที่ เป็นคนพาขึ้นไป ไม่อนุญาตให้ขับรถขึ้นไปเอง หรือ หากใครอยากขึ้นเอง สามารถเดินขึ้นเองได้ ค่าเข้าสถานที่ - รถสองแถวรับส่ง ขึ้น-ลง และ บำรุงสถานที่ 90 บาท - เดินขึ้น เสียค่าบำรุงสถานที่ 30 บาท
อ่านต่อ